Monday, 11 January 2016

ຄົນລະລ່ວງທຸກໄດ້ ເພາະຄວາມພຽນ

วิริเยน  ทุกฺขมจฺเจติ

คนจะล่วงทุกข์ได้       เพราะความเพียร

      บัดนี้   จักได้อธิบายขยายเนื้อความแห่งกระทู้ธรรมภาษิตที่ได้ลิขิตไว้  ณ  เบื้องต้น พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและปฏิบัติ เป็นลำดับไป

      คำว่า  ทุกข์  คือสภาพที่บีบคั้นเบียดเบียน มีความลำบาก ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ มีความคับบแคบใจ  อันมีเหตุมาจากความไม่สมปรารถนา ไม่ได้ดังใจ ได้สิ่งของบางอย่างมาแล้วไม่ถูกใจ ตลอดถึงการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ  เป็นเหตุแห่งความทุกข์เป็นความลำบาก   กล่าวโดยที่สุดพระพุทธเจ้าตรัสว่า สังขารร่างกายนี้ก็เป็นทุกข์  ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า    ความทุกข์เป็นความจริง เป็นทุกข์อริสัจ  ความทุกข์นี้มีมาประจำกับตัวเราแล้วตั้งแต่เกิด มีความลำบากในการที่จะหาเลี้ยงชีพ ทั้งตัวเองและคนอื่น แม้การศึกษาเล่าเรียนของเรานี้ ก็เหมือนกัน  เป็นความทุกข์ เป็นความลำบาก แต่พระพุทธเจ้าได้ทรงเทศนาสั่งสอนให้พวกเรามองให้เห็นความทุกข์ และก็ให้ยอมรับว่ามันมีอยู่จริง  ไม่ให้จมปรักอยู่มัน   ไม่ให้เศร้าโศกและเสียใจกับสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์   พระพุทธองค์ทรงสอน  หาทางหนีจากความทุกข์  หาทางแก้ทุกข์  เพื่อที่จะให้มีความทุกข์น้อยลง ให้มีความสุขตามปกติที่ใจมุ่งหวัง ในการที่จะหนี้จากความทุกข์ หาทางแก้ทุกข์นั้นพระองค์ก็ทรงสอนให้มีความเพียรก็คือ    ประการแรก เพียรพยายามไม่ให้สิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นแก่เรา ประการที่สองเพียรละสิ่งที่เป็นอุปสรรคแก่ความสุขของเรา  ประการที่สามเพียรพยายามทำสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์แก่เรา และประการที่สี่เพียรพยายามความดีสิ่งที่ดีทีมีอยู่ในตัวของเราแล้วให้คงอยู่ต่อไป  นี้คือทางที่จะแก้ความทุกข์   ทางที่จะพ้นจากความทุกข์  ความเพียรสี่ประการนี้เป็นสิ่งที่คนเรามนุษย์สามารถที่จะทำได้ เพราะว่ามนุษย์เป็นผู้มีความคิดมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดกว่าสัตว์เหล่าอื่น    สมดังพระพุทธภาษิตที่มาในขุททกนิกาย ธัมมปทคาถาว่า

ทนฺโต     เสฏฺโฐ    มนุสฺเสสุ

ในหมู่มนุษย์  ผู้ฝึกตนได้แล้ว  เป็นผู้ประเสริฐ

      แสดงว่า มนุษย์เรานี้  เป็นผู้ฝึกฝนตนเองได้ ด้วยความเพียรพยายามของตัวเขาเองในการศึกษาเล่าเรียนของเรานี้ก็เช่นกัน  กว่าที่เราจะจบมาได้แต่ละชั้นก็มีความยากลำบาก และยิ่งในการที่เราจบมีเกรดที่ดีแล้วไม่ใช่เรื่องง่าย  เราต้องใช้ความเพียรพยายามฝึกฝนต้นเองหมั่นศึกษาค้นคว้า  ละสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเรา  เอาใจใส่ในงานที่ครูอาจารย์มอบหมายให้  ไม่เกียจคร้าน  เมื่อเราหมั่นขยันอดทนฝึกฝนอยู่อย่างนี้   ก็จะเห็นได้ว่าความยากลำบากเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องยาก  เราก็จะได้รับผลสำเร็จในการศึกษา  และภาคภูมิใจในตัวของเรา  ไม่เฉพาะตัวเราแม้คนอื่นก็จะยกย่องสรรเสริญว่าเป็นเด็กดี หรือเป็นผู้ประเสริฐ  ถ้าหากขาดการฝึกฝนแล้วไซร้ จะกล่าวได้ว่าเป็นบุคคลผู้ประเสริฐก็หาไม่ จะเป็นคนดีได้อย่างไร

      สรุปความว่า  ความทุกข์ ความลำบากของมนุษย์ต่าง  ๆ นานา ของคนเรานั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถจะเอาชนะได้ สามารถบรรลุความสุข ผ่านความทุกข์นั้นได้  ก็เพราะความเพียร ดังที่กล่าวมาว่า ประการแรกเพียรสังวรระวังไม่ให้สิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นแก่ตัวเรา ประการที่สองเพียรละสิ่งที่ไม่ดีนั้น ประการที่สามเพียรสั่งสมความดีหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตัวเรา  และประการที่สี่เพียรรักษาความดีนั้นไว้ให้อยู่กับตัวเรานาน ๆ เมื่อฝึกตนเองได้แล้วก็จะเป็นคนที่มีแต่สวัสดีภาพ เป็นผู้ประเสริฐ สมดังนัยพุทธภาษิตที่ได้ยกขึ้นไว้  ณ เบื้องต้นนั้นว่า  

วิริเยน  ทุกฺขมจฺ เจติ

คนจะล่วงทุกข์ได้ก็เพราะความเพียร  

Sunday, 10 January 2016


ສີລນຳສຸກມາໃຫ້ຕາບເທົ້າຊະຣາ

ພຸດທະພົດ
- ສຸຂັງ ຍາວະ ຊະຣາ ສີລັງ (ສິລນຳສຸກມາໃຫ້ຕາບເທົ້າຊະຣາ)
ທີ່ມາ: ຂຸທທະກະນິກາຍ ທັມມະບົດ.

ອະທິບາຍ:
- ສີລ ແປວ່າໜັກ ແປວ່າໝັ້ນຄົງ, ສີລມີຫຼາຍປະເພດ ໂດຍຍິ່ງແລະໂດຍຢ່ອນກວ່າກັນໃນລັກສະນະການປະຕິບັດ ຄື ຈຸລສິລ ໄດ້ແກ່ສິລ 5 ມັດຊິມະສີລ ໄດ້ແກ່ສີລ 8 ແລະສິລ 10 ມະຫາສິນ ໄດ້ແກ່ສິລ 227 ແລະ 311 ເພື່ອນຳອັດທະຍາໄສ ຫຼືຄວາມພ້ອມຂອງຜູ້ປະຕິບັດຕາມຂັ້ນໃຫ້ບໍລິສຸດຜ່ອງໃສ ແລະປານີດຂຶ້ນໂດຍລຳດັບ ຫຼືພູມທັມຶນເປັນເບື້ອງຕົ້ນ ຫຼືພື້ນຖານແຫ່ງຄຸນທັມເບື້ອງສູງ ແລະຍັງນຳສຸກມາໃຫ້ແກ່ຜູ້ປະພຶດປະຕິບັດ ສູກອັນ້ກີດຈາກການຮັກສາສີລນັ້ນ ໄດ້ແກ່ການບໍ່ຢ້ານກົວໂທດ ແຫ່ງການປະພຶດຊົ່ວ ບໍ່ຕ້ອງຕົກອະບາຍມີນະຣົກເປັນ

- ສີລ ເປັນຂໍ້ວັດປະຕິບັດ ເພື່ອຮັກສາກາຍ ແລະວາຈາໃຫ້ເປັນປົກກະຕິ ທັມມະຊາດ ສີລເປັນເຄື່ອງປ້ອງກັນໄພຕ່າງໆນານາ ຜູ້ຮັກສາສີລຍ່ອມບໍ່ກໍ່ເວນ ມີກາຍ ວາຈາ ສະຫງົບປົກກະຕິ ບໍ່ຝັ່ນເຟືອນເມື່ອໄພມາ ຜູ້ປະຕິບັດສີລ ຍ່ອມຮັບຄວາມສູກທັງກາຍໃຈຕາບເທົ້າຊີວິດ.