Friday, 12 August 2011

ซึ่งกล่าวว่าเป็นผู้รักษาสมุทรดังที่เล่าไว้ในรามเกียรติ์ว่า นางเมขลาเป็นพนักงานรักษาสมุทร มีแก้วประจำตัวอยู่ ๑ ดวง ถ้านางโยนขึ้นจะเห็นแสงแวววับจับตา ซึ่งเราเรียกกันว่าฟ้าแล่บ ได้ไปเล่นกับเทพบุตรและนางฟ้าในเวลานักขัตฤกษ์ได้โยนแก้วเล่นแสง แก้วนี้ส่องไปจนรามสูรเห็นก็อยากได้ จึงไปไล่หวังจะได้แก้ว แต่ก็ไม่ได้ เพระนางเมขลาเอาแก้วส่องตาทำให้หน้ามืด เลยโมโหขว้างขวานหวังจะฆ่าซึ่งก็ไม่ถูกนาง ทางมนุษย์เราเรียกฟ้าร้องและฟ้าผ่านั้นเอง นี้แหละเป็นเรื่องของนางเมขลา
เผอิญวันเรือแตกนั้นนางเมขลากำลังไปประชุมอยู่กับเทพบุตรนางฟ้า จวบจนถึงวันที่ ๘ จึงกลับมา ได้เห็นมหาชนกว่ายน้ำอยู่จึงช่วยพาขึ้นจากสมุทรมาไว้ในอุทยานของพระเจ้าโปลชนก แล้วก็กลับไปที่อยู่ เจ้ามหาชนก ก็นอนหลับอยู่ในสวน


เมื่อเจ้ามมหาชนกมาหลับอยู่ในพระราชอุทยาน นั้น พระเจ้ากรุงมิถิลาสวรรคตได้ ๗ วันนี้ ราชธิดาของเจ้าโปลชนกพยายามเลือกหาผู้สมควร ให้เสวยราชสมบัติแทนพระบิดา โดยป่าวร้องให้อำมาตย์ข้าราชการมาเฝ้านางจะเลือกเอาเป็นคู่ครอง นางก็ไม่เลือกใคร ต่อมาถึงวาระเศรษฐีคฤหบดีก็ไม่มีใครได้นาง นางจึงปรึกษากับราชปุโรหิตว่า จะทำอย่างไรดีจึงจะได้คนมาครองราชสมบัติ ราชปุโลหิตจึงทูลตอบว่า
“ข้าแต่พระแม่เจ้า ตามโบราณมาถ้าพระเจ้าแผ่นดินไม่มีบุตรชาย ถึงแก่สวรรคตแล้ว อำมาตย์ข้าราชบริพานต่างก็จะเซ่นสรวงสังเวยเทพยดาอารักษ์ เสี่ยงราชรถออกไป ถ้าราชรถไปเกยถูกผู้ใด เห็นทีบุญแล้วก็จงเชิญมาครองราชสมบัติ”
“ถ้าเช่นนั้นท่านอาจารย์จงจัดแจงทำพิธีเสี่ยงราชรถเถิด” ราชปุโรหิตจึงจัดแจงทำบวงสรวงสังเวยอธิษฐานขอไห้ได้ผู้พระทำการสืบราชสมบัติแทน แล้วเทียมรถด้วยม้ามงคลปล่อยออกไป

ม้าที่นำรถนั้นเหมือนจะมีหัวใจ หรือไม่ก็ดูเหมือนมีคนมาชักสายขับขี่ไปให้บ่ายหน้าออกประตูเมืองด้านทิศตะวันออก มุ่งหน้าตรงไปยังอุทยานที่เจ้ามหาชนกนอนหลับอยู่ ราชรถไปถึงสวนหลวงก็เลี้ยวเข้าไปภายในสวน


เมื่อถึงที่เจ้ามหาชนกนอนอยู่ ก็ไป แล่นวนอยู่สามรอบก็หยุดที่ปลายเท้าของเจ้ามหาชนก ราชปุโรหิตที่ตามราชรถไปเห็นดังนั้นจึงคิดว่า
“ถ้าชายคนนี้เป็นผู้ทีบุญ เวลาได้ยินเสียงดุริยดนตรีคงจะไม่ตื่นตกใจ ถ้าไม่มีบุญคงตื่นตกใจหนีเป็นแน่” “จึงสั่งให้ประโคมดนตรีขึ้นพร้อมกันเสียงดังกึกก้อง

เจ้ามหาชนกได้ยินเสียงอึกทึกครึกโครม รู้สึกตัวตื่นขึ้นก็เปิดผ้าคลุมหน้าออกดู ก็เห็นคนชุมนุมกันอยู่มากมายก็รู้ได้ทันทีว่าเรานี่จะถึงแก่สมบัติแล้ว เลยชักผ้าปิดหน้านอนต่อไป ราชปุโรหิตจึงคลานเข้าปลายพระบาท เลิกผ้าคลุมออกพิจารณาดูเท้า แล้วประกาศแก่ชนทั้งปวงที่มาร่วมชุมนุมกันว่า “อย่าว่าแต่จะครองสมบัติในเมืองเท่านี้แม้ราชสมบัติทั้ง ๓ ทวิป ท่านผู้นี้ก็สามาถจะครอบครองได้

แล้วจึงสั่งให้ประโคมดนตรีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ดังยิ่งกว่าคราวแรกเสียอีก เจ้ามหาชนกจึงเปิดผ้ามองดู ราชปุโรหิตจึงทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ อย่าทรงบรรทมอยู่เลย สมบัติในเมืองมิถิลานี้มาถึงแล้ว” เจ้ามหาชนกจึงครัสถามว่า
"พระเจ้าแผ่นดินของพวกท่านไปไหนเสียเล่า จึงมาหาคนอย่างเราไปเป็นพระเจ้าแผ่นดิน”
“ขอเดชะ พระราชาพระองค์ก่อนได้เสด็จสวรรคตได้ ๗ วันแล้วพระเจ้าข้า”
“พระราชโอรสของพระแผ่นดินท่านไม่มีหรือ”
“ขอเดชะ ไม่มีพระเจ้าข้า มีแต่พระราชธิดาองค์เดียวเท่านั้น”
"ถ้าอย่างนั้นเราจะรับครองราชสมบัติ”

ราชปุโรหิตจึงเอาเครื่องทรงมาถวายให้เจ้ามหาชนกทรงทำพิธีมอบราชสมบัติมอบราชบัติกัน ณ ที่นั้นเอง แล้วจึงได้เสด็จขึ้นสู่พระราชมณเฑียร

พระราชธิดาคิดจะลองดูว่าคนผู้นี้จะมีปัญญาหรือไม่จึงตรัสให้ราชบุรุษคนหนึ่งไปทูลเจ้ามหาชน ว่าพระราชธิดารับสั่งให้เสด็จเข้าไปเฝ้า แต่เจ้ามหาชนกทำเป็นไม่ใส่ใจ เพียงดำเนินชมปรางค์ปราสาท ที่นั่นก็สวย ที่นี่ก็สวย แม้พระราชธิดาจะใช้ไห้มาเชิญ ๒ ครั้ง ก็ยังปฎิบัติเช่น

ต่อมาเมื่อได้เวลาพอสมควรแล้ว เจ้ามหาชนกก็ได้เสด็จขึ้นสู่เรือนหลวง พระราชธิดาเสด็จออกมารับถึงบันได ยื่นพระหัตถ์ให้เจ้ามหาชนก ๆ จึงจับมือ พระราชธิดาพาเข้าไปประทับภายในพร้อมกับดำรัสเรียกราชปุโรหิตแล้วถามว่า
“พระราชาของพวกท่านจวนจะสวรรคต ได้รับสั่งข้อความว่าอย่างไรไว้บ้าง”
“บอกไว้ว่ามีอะไรบ้าง”
“ขอเดชะ มีรับสั่งไว้หลายประการ”
“ข้อแรก ถ้าผู้ใดทำให้สิวลีราชธิดาของเรายินดีได้ก็ให้ยกราชสมบัติให้ผู้นั้น”
“ข้อนี้ไม่มีปัญหาแล้ว พระนางได้ยื่นมือให้เราพาเข้าในเรือนหลวงแล้ว ข้อต่อไปเล่า”
“ข้อต่อไปนี้ให้ผู้ที่รู้จักบัลลังก์ ๔ เหลี่ยม ว่าที่ใดเป็นปลายเท้าและทางใดเป็นทางศีรษะ”

พอได้ยินเจ้ามหาชนกแกล้งทำเป็นไม่สนใจ หันไปสนทนากับสิวลีราชธิดาเสีย พร้อมถอดปิ่นจากศีรษะส่งให้พระราชธิดาซึ่งนางก็รู้ได้เท่าทัน รับปิ่นแล้ววางที่บัลลังก์ ๔ เหลี่ยม แล้วหันไปถามปุโรหิต
“ท่านว่าอย่างไรข้อต่อไป”
“ข้อต่อไปคือบัลลังก์ ๔ เหลี่ยม ให้รู้จักว่าทางไหนเป็นด้านเท้าและด้านศีรษะ”
เจ้ามหาชนกชี้ไปที่ด้านปิ่นวางอยู่ พลางบอกว่า
“ทางด้านนั้นแหละเป็นด้านศีรษะ”
"ขอเดชะ ข้อที่ ๓ เรื่องประลองกำลังพะย่ะค่ะ”
“ลองอย่างไร”
“ที่เมืองนี้มีธนูอยู่คันหนึ่งต้องใช้คนถึง ๑.๐๐๐ คน จึงจะดึงสายธนูนี้ได้ ถ้าผู้ใดโก่งคันธนูคันนี้ได้ก็ให้ราชสมบัติแก่ผู้นั้น” “ข้อนี้ไม่ยาก พวกท่านไปเอาธนูคันนั้นมา”

ราชปุโรหิตจึงให้ทหารไปเอาธนูอันใหญ่โตมโหฬารมา ณ ที่นั้น เจ้ามหาชนกก็เสด็จลงไปหยิบคันธนูขึ้นมา ประดุจว่าของเบา แล้วลองขึ้นสายโก่งดูได้อย่างง่ายดายเพระเจ้ามหาชนกทรงกำลังประดุจช้างสาร เสร็จแล้วก็ลดสายวางคันธนูลงดังเก่า
“ข้อต่อไปเป็นเรื่องของการค้นหาขุมทรัพย์”
"พระองค์ตรัสไว้อย่างไร”
"พระองค์ตรัสว่า ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ในที่พระอาทิตย์ขึ้น
“เวลานี้ไม่พอจะค้นหาขุมทรัพย์ เอาไว้พรุ่งนี้ค่อยค้นหากันเถิด”
เป็นอันว่าวันนั้นเจ้ามหาชนกได้แสดงทั้งปัญญา และกำลังปรากฎแก่มหาชนทั้งปวงแล้ว

รุ่งขึ้น เจ้ามหาชนกก็ได้ให้ประชุมราชปุโรหิต และเสนาข้าราชบริพารทั้งปวงแล้วถามว่า
“ขุมทรัพย์ข้อต้นของพระราชาว่าอย่างไร”
“ขอเดชะ" ราชปุโรหิตกล่าวว่า “ข้อแรกที่ว่าขุมทรัพย์ ที่ ๑ ของเราอยู่ในที่พระอาทิตย์ขึ้น”
"พวกท่านคิดว่าอย่วงไร”
“พวกข้าพระองค์คิดว่าขุมทรัพย์นี้คงจะอยู่ในทางทิศตะวันออกของพระราชวัง พระเจ้าข้า”
“แล้วพวกท่านทำอย่างไรต่อไป” พวกข้าพระองค์ก็พากันขุดค้นในภาคพื้นทางด้านตะวันออก ในที่ ๆ สงสัยว่าจะฝังขุมทรัพย์ไว้”
“แล้วได้ผลเป็นอย่างไร”
“ผลคือไม่พบขุมทรัพย์อะไรเลย”
“ก็เป็นอันว่าพวกท่านไม่สามารถจะค้นหาได้แล้วใช่ไหม”
“พระเจ้าข้า”
“พระราชาของพวกท่าน ยังนิมนต์พระเข้ามาในพระราชนิเวศน์เพื่อถวายทานบ้างหรือเปล่า”
"ขอเดชะ ข้อนั้นเป็นกิจวัตรประจำวันของพระราชาของพวกข้าพระองค์ทีเดียว พระองค์นิมนต์พระปัจเจกโพธิมารับอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ทุกวัน”
“พวกท่านทราบไหมว่าพระปัจเจกโพธินั้นเวลาพระราชาของพวกท่านเสด็จไปรับที่ใด หรือให้ใครไปคอยรับ”
“ขอเดชะ พระราชาเสด็จประทับยืนคอยรับอยู่ ณ บริเวณพระลานประจำเสมอ โดยมิได้ส่งใครไปคอยรับแทนพระองค์เลย”
“ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจงไปขุดในที่ ๆ พระราชาของพวกท่านยืนคอยรับอยู่ที่นั้นเถิด”

พวกอำมาตย์ได้ยินดังนั้นก็ให้จัดแจงจอบเสียมแล้วพาไปขุดในที่นั้น ก็พบสมบัติของพระราชาเป็นขุมแรก ก็พากันดีประหลาดใจ เมื่อกลับมาก็พากันส่งเสียงด้วยความปีติว่า
“ขอเดชะ ขุมทรัพย์ที่พระองค์ชี้ให้ขุดนั้นพบแล้วพระเจ้าข้า”
“เออ พบแล้ว ขุดขึ้นเสียให้หมด แล้วนำมาเก็บไว้ในพระคลังหลวง”
“พวกข้าพระองค์สงสัย”
“สงสัยอะไรล่ะ”
“ทำไมพระองค์จึงชี้ให้ขุดที่นั้น”

ຜູ້ໃດປາຖະໜາຈະອຸປັດຖາກເຮົາຕະຖະຄົດ ຜູ້ນັ້ນເພິງປິ່ນປົວຮັກສາພິກຂຸຜູ້ປ່ວຍໄຂ້.

ພຮະພຸດທະເຈົ້າຊົງຕັດວ່າ:-
“ໂຍ ພິກຂະເວ ມັງ ອຸປັຕຖະເຫຍຍະ ໂສ ຄິລານັງ ອຸປັຕຖະເຫຍຍະ”
"ຜູ້ໃດປາຖະໜາຈະອຸປັດຖາກເຮົາຕະຖະຄົດ ຜູ້ນັ້ນເພິງປິ່ນປົວຮັກສາພິກຂຸຜູ້ປ່ວຍໄຂ້."

- ການໃຫ້ການພະຍາບານ ຫຼືບໍຳບັດໂລກໄພໄຂ້ເຈັບຂອງພຣະສົງ ເທົ່າກັບການໄດ້ອຸປະຖາກພຣະພຸດທະອົງເອງແທ້ ຜູ້ຂຽນກຳລັງໄດ້ຍິນປາລີ ບົດນີ້ວ່າ: “ໂຍ ພິກຂະເວ ມັງ ອຸປັຕຖະເຫຍຍະ ໂສ ຄິລານັງ ອຸປັຕຖະເຫຍຍະ ແປວ້າ = ຜູ້ໃດປາຖະໜາຈະອຸປັດຖາກເຮົາຕະຖະຄົດ ຜູ້ນັ້ນເພິງປິ່ນປົວຮັກສາພິກຂຸຜູ້ປ່ວຍໄຂ້." ບໍ່ວ່າຈະເປັນພຣະປັດເຈກະພຸດທະເຈົ້າ ຫຼືພຣະສັມມາສັມພຸດທະເຈົ້າ ບຸນທີ່ເກີດຈາກການຖວາຍທານນັ້ນ ມີອານິສົງຫຼາຍຈິງແທ້ ເຖິງຂະໜາດຜູ້ນັ້ນຕັ້ງຈິດອະທິຖານ ຂໍໃຫ້ໄດ້ເປັນສາວົກ ຫຼືອັກຄະສາວົກ ຫຼືປາຖະໜາພຸດທະພູມ ກໍໄດ້ສົມດັ່ງໃຈປາຖະໜາເລີຍ.

- ຕາມພຸດທະດຳຣັດທີ່ກ່າວມາຂ້າງຕົ້ນນັ້ນ ການທີ່ເຮົາເບິ່ງແຍງ ຊ່ວຍເຫຼືອປະຕິບັດຕໍ່ພຣະພິກຂຸສົງ-ສາມະເນນຜູ້ອາພາດ ເທົ່າກັບວ່າເຮົາໄດ້ສ້າງກຸ ສົນຕໍ່ພຣະພຸດທະອົງໂດຍກົງເລີຍ ດັ່ງນັ້ນຜົນບຸນຄົງຈະມະຫາສານ ດັ່ງກັບວ່າເຮົາໄດ້ຖວາຍທານຕໍ່ພຣະພຸດທະເຈົ້າເອງ.

- ດັ່ງນັ້ນ, ການທີ່ເຮົາມີໂອກາດ ຫຼືຕັ້ງໃຈທີ່ຈະປະຕິບັດເບິ່ງແຍງຊ່ວຍເຫຼືອ ພຣະພິກຂຸສົງທີ່ປ່ວຍໄຂ້ ອາພາດ ແລ້ວເຮົານ້ອມຈິດຈອງເຮົາຣະລຶກເຖິງ ອົງພຣະສັມມາສັມພຸດທະເຈົ້າ ຈະສົ່ງຜົນຕໍ່ຈິດໃຈອັນເປັນມະຫາກຸສົນເປັນຢ່າງຍິ່ງ ແລະຫາກມີອະນິສົງດັ່ງພຸດທະດຳຣັດແລ້ວ ບຸນຈາກການອຸປັດ ຖາພຣະພຸດທະອົງຍ່ອມມີກຳລັງມະຫາສານ ຫາກຕັ້ງຈິດອະທິຖານວ່າ ຂໍໃຫ້ຂ້ານ້ອຍຈະເຣິນໃນທັມ ໃນພຣະສາສນາຂອງພຣະພຸດທະອົງແລ້ວ ກຳລງັແຫ່ງຄວາມຕັ້ງໃຈນັ້ນຄົງມີຫຼາຍ ແລະສົ່ງຜົນໃຫ້ເຮົາກ້າວໜ້າໃນທັມ ມີພະລະກຳລັງ ແລະອິນຊີເພື່ອຄວາມຫຼຸດພົ້ນໃນໂອກາດພາຍໜ້າໄດ້ ແທ້ແນ່ນອນ.